วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ CoolYellLaughing
1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ 
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ 
4. เช็คคำตอบ 
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ 
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน 
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น 
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ 
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ 
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556


  เทคนิคลับ ในการอ่านหนังสือให้จำ

               หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาในการอ่านหนังสือมามากมาย เช่น อ่านยังไงก็ไม่จำ ไม่มีสมาธิ ไม่รู้จะเริ่มต้นอ่านตรงไหนก่อน เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสอบแล้ว ยังอ่านหนังสือได้ไม่ถึงครึ่งเลย ไม่รู้จะวางแผนการอ่านหนังสือยังไงดี ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ดู น่าจะช่วยเพื่อนๆ ได้เยอะ

                1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือซะก่อน หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก
                2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้
              3. พยายามสรุปเรื่องที่เราอ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น
             4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด เพราะเราจะสอนออกมาจากความเข้าใจของตัวเราเอง หากติวแล้วเพื่อนที่เราติวให้เข้าใจ ถือว่าเราแตกฉานในความรู้นั้นได้อย่างแท้จริง
             5. เน้นการตะลุยโจทย์ให้เยอะๆ พยายามหาข้อสอบย้อนหลังมาทำให้ได้มากที่สุด เพราะการตะลุยโจทย์จะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าการอ่านเนื้อหา
             6. เตรียมตัว และให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือในวิชาที่เราถนัดมากกว่าวิชาที่ดันไม่ขึ้น เพื่อนๆ หลายคนเข้าใจผิด ไปทุ่มเทเวลาให้กับวิชาที่เราไม่ถนัด วิชาไหนที่เราไม่ถนัด ดันยังไงมันก็ไม่ขึ้น เสียเวลาเปล่า เอาเวลาไปทุ่มให้กับวิชาที่เราทำได้ให้ชัวร์ดีกว่า จะได้เอาคะแนนไปถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นๆ แบบนี้เข้าท่ากว่าเยอะนะ
            7. สมาธิเป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีสมาธิดี ใครที่สมาธิสั้น จะจำยาก ลืมง่าย ใครสมาธิดี จะจำง่าย ลืมยาก การอ่านหนังสือ ต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย ชั่วโมงครึ่ง 30 นาทีแรกจิตใจของเรากำลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่ง 60 นาทีหลัง ใจนิ่งมีสมาธิแล้ว ก็พร้อมรับสิ่งใหม่ เข้าสู่สมอง ที่สำคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัว ห้ามคิดเรื่องพวกนี้ซักพัก เช่น เรื่องหนัง , เกม , แฟน พยายามออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจเรานิ่งขึ้น

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


              วิธีการเตรียมตัวก่อนลงสนามสอบ GAT/PAT

              
                         วันนี้พี่ก็มีคำแนะนำดีๆก่อนน้องจะเข้าสอบ GAT/PAT มาฝากนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็มากที่สุดนะครับ สำหรับน้องที่จะสอบ GAT/PAT ครั้งนี้เป็นครั้งแรก
อย่างแรกเลย สิ่งที่ต้องเตรียม/ห้ามเตรียม
1. ดินสอ 2B มากกว่า 1 แท่ง เผื่อดินสอหัก ฯลฯ และเหลาให้เรียบร้อย (ถ้าน้องใช้ดินสอกด พี่แนะนำให้พกดินสอไม้ไปเผื่อด้วย เผื่อว่าโชคชะตาฟ้าลิขิตให้ดินสอกดน้องมันพังในวันนั้น ดินสอไม้จะช่วยชีวิตน้องเอง) และอย่าลืมกบเหลา และไส้ดินสอ
2. ยางลบ ที่ลบสะอาดๆ นะครับ ก้อนเดียวก็พอ
3. ปากกา เอาไว้เซนชื่อนะครับ อย่าลืมเลยนะ
4. นาฬิกา แบบเข็มเท่านั้น ดิจิตอลหมดสิทธิ์ครับ เผื่อห้องที่น้องสอบ ไม่มีนาฬิกา
5. ห้ามใช้กล่องดินสอ กระเป๋าดินสอ ถ้าน้องมีถุงพลาสติกใส หรือกระเป๋าดินสอใสๆ สามารถเอาเข้าได้ (แต่บางที่ไม่ให้นะ)
6. ห้ามใช้ไม้บรรทัด เพราะพี่เคยจะเอาเข้า เขาบอกว่าห้าม แต่ว่า ถ้าลองถามอาจารย์แล้ว เขาไม่ห้ามก็เอาเข้าไปเหอะ
7. ห้ามเอาอาหาร ขนม นม เนย น้ำ เข้าไปกินนะครับ น้องต้องกินให้อิ่มก่อน
8. ห้ามเอาบัตรสอบเข้าห้องสอบ แต่น้องจำเป็นต้องปรินท์ไป เพื่อดูว่าสอบห้องไหน แล้วเช็ครายชื่อหน้าห้องสอบอีกที
9. สำคัญที่สุด บัตรประชาชน ถ้าลืมอดสอบทันทีนะครับน้อง

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556


วิธีแก้ง่วงเวลาอ่านหนังสือ 



ความง่วงนอนนั้นมีหลายขั้น ตามที่เราแบ่งเอง ได้แก่
1. ความง่วงนอนขั้นต้น
อาการ - เป็นความง่วงที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น จะทำให้สติของเราล่องลอยไปเที่ยวสักพัก ไม่กี่นาทีหรอก แล้วก็จะกลับมาที่เดิม อาจมีอาการอ้าปากหาวบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่บ่อยนัก 
วิธีแก้ - ควรจะลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น หรือออกแรง เช่น การบิดขี้เกียจให้ร่างกายมีความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า พูดง่าย ๆ คือ ทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้ร่างกายเราสดชื่นขึ้น

2. ความง่วงขั้นกลาง
อาการ - เป็นความง่วงที่สะสมมาจากความง่วงขั้นต้น สติเริ่มหายไปเที่ยวนานขึ้น อาการหาวก็มีถี่ขึ้น อาจมีอาการสัปหงกเล็กน้อย
วิธีแก้ - ควรจะหลับตาลงพักผ่อนสักครู่ อาจะ 10-15 นาที แล้วตื่นขึ้นมาไปล้างหน้าล้างตา เพื่อให้สดชื่น หรือไปทำอะไรสักอย่าง ไปเดินเล่น หรือฟังเพลง ดื่มนม กาแฟนี่ไม่แนะนำเท่าไรนัก เพราะ อาจเกิดอาการหลับในได้ ก็ง่วงมาก แต่ตายังค้าง เสียสุขภาพกายเปล่า ๆ น่า

3. ความง่วงขั้นรุนแรงอาการ - เป็นความง่วงที่ไม่อาจทัดทานได้ไหว สติแทบจะไม่มีแล้ว หัวอาจสัปหงกลงไปจูบกับโต๊ะได้ทุกเมื่อ หรืออาจเกิดอาการฟุบหลับคาหนังสือ
วิธีแก้ - ไปนอนซะ ถึงอ่านไปก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี เลิกทรมานตัวเองได้แล้ว ถ้ายังอ่านไม่จบก็ปลงซะ มาถึงขั้นนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำไง สมองก็ไม่พร้อมจะรับอะไรอีกแล้วทั้งนั้นแหละน่า

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ!!!!!




.....

1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ ตัดทุกอย่างออกไป 
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง 
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” 
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม 
5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส อย่าปล่อยให้ว่าง อ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง 
6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข 
7.ลงมือทำเดี๋ยวนี้


เวลาที่ดีสำหรับการอ่านหนังสือ 

    เคยมีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายเราได้พักผ่อน รวมทั้งสมองก็ได้พัก มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็เหมาะ คือว่ามันเงียบไง…สมองเราก็สามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก สำหรับตัวเราเอง อ่านตอนกลางคืนสักนิด ได้เท่าไหนก็แค่นั้น 5 ทุ่มต้องเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้ 
      เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า “พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน” ไหม ช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ เรามีเพื่อนคนหนึ่ง เขาบอกว่าหนังสือเรียนคือยานอนหลับขนานเอก เห็นจะจริง อ่านไม่กี่หน้าก็หลับแล้ว 
การอ่านควรจะเป็นในสถานที่ที่สงบ เงียบ และสมองเราพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด


วิธีแก้ง่วง 
ความง่วงนอนนั้นมีหลายขั้น ตามที่เราแบ่งเอง ได้แก่
1. ความง่วงนอนขั้นต้น
อาการ - เป็นความง่วงที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น จะทำให้สติของเราล่องลอยไปเที่ยวสักพัก ไม่กี่นาทีหรอก แล้วก็จะกลับมาที่เดิม อาจมีอาการอ้าปากหาวบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่บ่อยนัก 
วิธีแก้ - ควรจะลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น หรือออกแรง เช่น การบิดขี้เกียจให้ร่างกายมีความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า พูดง่าย ๆ คือ ทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้ร่างกายเราสดชื่นขึ้น

2. ความง่วงขั้นกลาง
อาการ - เป็นความง่วงที่สะสมมาจากความง่วงขั้นต้น สติเริ่มหายไปเที่ยวนานขึ้น อาการหาวก็มีถี่ขึ้น อาจมีอาการสัปหงกเล็กน้อย
วิธีแก้ - ควรจะหลับตาลงพักผ่อนสักครู่ อาจะ 10-15 นาที แล้วตื่นขึ้นมาไปล้างหน้าล้างตา เพื่อให้สดชื่น หรือไปทำอะไรสักอย่าง ไปเดินเล่น หรือฟังเพลง ดื่มนม กาแฟนี่ไม่แนะนำเท่าไรนัก เพราะ อาจเกิดอาการหลับในได้ ก็ง่วงมาก แต่ตายังค้าง เสียสุขภาพกายเปล่า ๆ น่า

3. ความง่วงขั้นรุนแรง
อาการ - เป็นความง่วงที่ไม่อาจทัดทานได้ไหว สติแทบจะไม่มีแล้ว หัวอาจสัปหงกลงไปจูบกับโต๊ะได้ทุกเมื่อ หรืออาจเกิดอาการฟุบหลับคาหนังสือ
วิธีแก้ - ไปนอนซะ ถึงอ่านไปก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี เลิกทรมานตัวเองได้แล้ว ถ้ายังอ่านไม่จบก็ปลงซะ มาถึงขั้นนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำไง สมองก็ไม่พร้อมจะรับอะไรอีกแล้วทั้งนั้นแหละน่า


คาถาก่อนเข้าห้องสอบ 

     จริง ๆ ก็เป็นแค่ความเชื่อที่ทำแล้วสบายใจเท่านั้นเอง เล่นกับดวงไง หากอ่านหนังสือมาเต็มที่แล้ว อย่ากลัวข้อสอบเลย นี่เป็นแค่สิ่งที่ช่วยเสริมกำลังใจสำหรับบางคนที่อ่านมาแล้ว แต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าหัว ก็ต้องอาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมกับบุญที่เคยมีมาแต่ชาติปางก่อนนะ

- ขั้นแรก ออกจากบ้าน ไหว้พ่อ ไหว้แม่ให้งามๆ ขอพรมาสักหน่อยก็ดี 
ขั้นสอง เดินเข้าโรงเรียน ซึ่งในแต่ละแห่งจะมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในโรงเรียน ก็ทำความเคารพ อาจจะมีการบนบานเล็กน้อย
ขั้นสาม เข้าห้องสอบ ให้ก้าวเท้าซ้ายเข้าไปก่อน เข้าตำราที่ว่า “ขวาร้าย ซ้ายดี” ไง
ขั้นที่สี่ ทำข้อสอบ ก่อนลงมือเขียน ท่องนะโม หรือบทอะไรสักอย่าง อย่าให้ยาวนัก เดี๋ยวจะเสียเวลามากไป ขั้นนี้เล่นกับศาสนาแล้ว ( ความจริงก็เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการตื่นเต้น เป็นการรวบรวมสมาธิน่ะ )

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลัก 8 ประการที่ดูแลตัวเอง

 ๑. รับประทานอาหาร  อย่างถูกต้องเหมาะสม
           อาหารเช้า                   สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี    ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า    ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ    ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ    กลางวัน อย่ารับประทานมาก อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)                   
                  ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร    รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย    ๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
    ๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า
         ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
    ๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
    ๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
    ๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
    ๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน
    ๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556



วันสุนทรภู่
          วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง   ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต  (Iliad)) และโอเดดซี (Odyssey)ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก